top of page
เป้าหมายที่ไม่มีแผน ก็เป็นได้เพียงแค่ความฝัน

“A goal without a plan is just a wish.” - Antoine de Saint-Exupéry

ทำไมต้องวางแผนการเงิน?

คำถามที่หลายคนคงอาจจะสงสัย ..

    หลายต่อหลายครั้งคุณอาจจะพบว่า แม้ว่าเราจะวางแผนมาดีแค่ไหนแล้วก็ตาม เราก็อาจจะพบกับความไม่แน่นอน จนทำให้ไม่ได้ผลลัพธ์ตามที่เราต้องการ บางครั้งที่เราอาจจะวางแผนไปเที่ยวไว้เป็นอย่างดี แต่จู่ ๆ ก็มีเหตุด่วนให้ต้องยกเลิกทริป หรือบางครั้งเราอาจจะยังไม่รู้ว่าจะเดินทางอย่างไรให้ไปถึงสถานที่ในฝันได้

    ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่ชีวิตเราจะเจอกับความไม่แน่นอน แล้วถ้ายิ่งไม่รู้ว่าจุดมุ่งหมายที่แท้จริงตามความฝันของเรานั้นเป็นอย่างไร และตอนนี้ตนเองอยู่ตรงไหน ก็จะยิ่งที่ให้ฝันที่มีห่างไกลออกไปจากเรามากยิ่งขึ้น และคงจะยากที่จะเปลี่ยน "ความฝัน" ให้กลายเป็น "ความจริง"

    .. ไม่เว้นแม้แต่เรื่องเงิน

มีเพียงแค่ 32%

ที่มีแผนการเงินเป็นลายลักษณ์อักษร

“การวางแผนการเงินส่วนบุคคล” หรือ “การวางแผนการเงิน”
คือกระบวนการของการพิจารณาถึงวิธีการที่บุคคลจะสามารถบรรลุเป้าหมายในชีวิตได้
ผ่านการจัดการที่เหมาะสมของทรัพยากรทางการเงิน

กำหนดเป้าหมาย

รวบรวมข้อมูล

นำไปใช้จริง

ติดตามและปรับปรุง

จัดทำแผน

วิเคราะห์ข้อมูล

    ทั้งนี้ เราจะต้องรู้ชัดถึงเป้าหมายทางการเงินที่เราต้องการ รวมทั้งรู้จักฐานะทางการเงินของตนเองในปัจจุบัน เพื่อที่จะประเมินโอกาสและแนวทางในการไปให้ถึงเป้าหมายนั้นให้ได้

    โดยทั่วไปแล้ว กระบวนการวางแผนการเงินจะประกอบด้วย 6 ขั้นตอน อันได้แก่ การกำหนดเป้าหมายทางการเงิน การรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้อง การวิเคราะห์ข้อมูลการเงิน การจัดทำแผนการเงินส่วนบุคคล การนำแผนการเงินไปปฏิบัติจริง และการติดตามแผน ทบทวน ตรวจสอบ และปรับปรุงแผน ซึ่งคุณสามารถที่จะดำเนินการตามขั้นตอนเหล่านี้ได้ด้วยตัวเอง

    แต่ถ้าคุณยังไม่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเพียงพอที่จะวางแผนด้วยตนเอง ยังไม่สามารถวิเคราะห์ข้อมูลด้านการเงินได้ หรือไม่มีเวลาเพียงพอที่จะทำ คุณก็สามารถเรียกใช้บริการจากนักวางแผนการเงินหรือที่ปรึกษาการเงินได้เช่นกัน เพื่อประหยัดเวลาของคุณเอง และมอบหมายให้ผู้เชี่ยวชาญดำเนินการแทนเพื่อความมีประสิทธิภาพสูงสุด

ล้มเหลวในการวางแผน

คือวางแผนว่าจะล้มเหลว

"Failing to plan is planning to fail." - Alan Lakein

    มีงานวิจัยและค้นคว้ามากมายที่ระบุว่าประชากรไทยกำลังมีปัญหาด้านการเงินในหลายแง่มุม ไม่ว่าจะเป็นปัญหาหนี้สินครัวเรือน ปัญหาการออมเงินเพื่อการเกษียณ ปัญหาแชร์ลูกโซ่และการลงทุนที่ผิดกฏหมาย ฯลฯ ทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่มีสาเหตุมาจากการขาดความรู้ในการบริหารจัดการความมั่งคั่ง และการไม่วางแผนตั้งแต่เนิ่น

    คงจะไม่มีใครอยากเจอปัญหาด้านการเงินเหล่านี้กับตัวเอง ดังนั้น การศึกษาหาความรู้ด้านการเงินและการบริหารจัดการความมั่งคั่งด้วยการวางแผนการเงินจึงเป็นสิ่งสำคัญ

    แต่ถึงกระนั้น .. ก็ยังมีคนไทยเพียงไม่กี่กลุ่มที่ตื่นตัวและให้ความสำคัญในเรื่องนี้

76%

หรือราว 3 ใน 4 คน

คือสัดส่วนของมนุษย์เงินเดือน*ที่จะมีเงินไม่เพียงพอ
สำหรับการใช้ชีวิตในวัยเกษียณ**

* กลุ่มที่มีเงินเดือนปัจจุบันไม่เกิน 3 หมื่นบาทเงินเดือนขึ้นไม่ถึงปีละ 5.5% นายจ้างจ่ายเงินสมทบในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพต่ำกว่า 5.5% และไม่มีเงินบำเหน็จจากนายจ้าง
** ความเพียงพอ หมายถึง เงินสะสมจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ + เงินบำนาญจากประกันสังคม + เงินบำเหน็จจากนายจ้าง(ถ้ามี) + เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ มีโอกาสบรรลุเงินก้อนที่พึงมีเพื่อใช้จ่ายหลังเกษียณ ณ ระดับความเพียงพออย่างน้อย 95%

ถึงเวลาแล้วหรือยัง?

ที่จะเริ่มต้นวางแผนการเงินให้ตัวคุณเอง

Siam Wealth Management_Logo_New_Text.png

ปีระมิดทางการเงิน

เพื่อแผนการเงินที่สมบูรณ์แบบ

สร้าง

ปกป้อง

สะสม

ต่อยอด

ส่งต่อ

วางแผนรายรับรายจ่าย

วางแผนภาษี

วางแผนการประกัน

วางแผนเงินสำรองฉุกเฉิน

วางแผนเกษียณอายุ

วางแผนการศึกษาบุตร

วางแผนการลงทุน

วางแผนการบริหารพอร์ต

วางแผนมรดก

    หลักการพื้นฐานที่สำคัญในด้านการวางแผนการเงิน คือการวางแผนให้ครบทุกมิติ ครอบคลุมทุกด้านที่เกี่ยวข้องกับการเงินส่วนบุคคล ซึ่งนักวางแผนการเงินและที่ปรึกษาการเงินส่วนใหญ่มักจะใช้ "ปีระมิดทางการเงิน" ในการอธิบายภาพรวมของหลักพื้นฐานการวางแผนทางการเงินอย่างเป็นระบบ

    โดยที่ในส่วนของฐานปีระมิดที่จะต้องมั่นคงแข็งแรง คือ การสร้างความมั่งคั่ง เพื่อให้มีรายได้และเงินออมมากขึ้นไปต่อยอดด้านบน ซึ่งส่วนสำคัญอันดับถัดมาคือ การปกป้องความมั่งคั่ง เพื่อพร้อมรับทุกวิกฤต ไม่ให้แผนการเงินและเป้าหมายได้รับผลกระทบ จากนั้นจึงนำไปสู่ การสะสมความมั่งคั่ง ด้วยการเก็บออม ไม่ว่าจะระยะสั้นหรือระยะยาว ซึ่งก็ต้องการ การต่อยอดความมั่งคั่ง ด้วยการลงทุนอย่างเป็นระบบ ผ่านการบริหารการลงทุน และสุดท้ายคือ การส่งต่อความมั่งคั่ง อย่างมีประสิทธิภาพไปยังครอบครัวในวันที่เราจากไป

   ซึ่งการที่จะวางแผนให้ครอบคลุมนั้นจำเป็นที่ต้องมีการคิดวิเคราะห์ มีวางแผนที่ชัดเจน และคำนึงถึงองค์ประกอบโดยรวมของทั้งแผนการเงิน เพื่อให้เป้าหมายทางการเงินที่ตั้งไว้สามารถบรรลุได้ในทุกด้าน โดยแต่ละแผนนั้นก็จะแตกต่างกันออกไปตามลักษณะเฉพาะของแต่ละบุคคล

" เริ่มต้นวันนี้ เพื่อตัวคุณเองในอนาคต "

bottom of page