สำหรับคู่รักที่เพิ่งแต่งงานกันหมาดๆ อาจจะมีแนวทางในการจัดการเงินครอบครัวต่างกัน วันนี้จะมาลองเล่าให้ฟังดู เผื่อเป็นทางเลือกให้กับหลายๆคู่
เงินครอบครัวก้อนแรกมาจากไหน??? ... เงินซองแต่งงาน หรือ ซองยกน้ำชา นี่แหละค่ะ โดยเฉพาะพิธียกน้ำชา ได้มาเต็มเม็ดเต็มหน่วยดีมาก (ถ้าไม่คิดจะจัดงานแต่งยิ่งใหญ่ อย่างน้อยควรมีพิธียกน้ำชา มันดีจริงๆนะ แอบบอก)
มีเงินก้อนแล้วเราควรจัดการยังไงดีหละ?
ก่อนที่จะไปถึงกระบวนการจัดการ อยากให้ตั้ง “เป้าหมาย” โดยการประมาณค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นในครอบครัวก่อน ซึ่งอยากให้ลองตอบคำถาม ดังต่อไปนี้ก่อน
ค่าใช้จ่ายส่วนตัวทั่วไป (กิน-อยู่-เดินทาง-Shopping) จะใช้เงินครอบครัว หรือต่างคนต่างรับผิดชอบของตัวเอง?
ค่าใช้จ่ายคู่ทั่วไป (ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่า Internet ค่าส่วนกลางคอนโด ค่าแม่บ้าน) จะใช้เงินครอบครัว หรือให้ใครคนใดคนหนึ่งรับผิดชอบจ่ายส่วนไหนเอง?
ค่าใช้จ่ายชีวิตคู่ เพื่อเพิ่มความสุข (ค่าเที่ยวต่างประเทศ ในประเทศ ดูหนัง ฟังเพลง) จะใช้เงินครอบครัว หรือหารกัน หรือสามีออกให้หมดดีคะ?
จะมีลูกน้อยกันกี่คนดี? และอยากให้คำนวนค่าใช้จ่ายลูก ตั้งแต่เป็นวุ้นยันเรียบจบ
ตัวอย่างการตั้งเป้าหมาย
เมื่อตั้งเป้าหมายเสร็จแล้ว จะเป็นการคำนวนค่าใช้จ่าย (แนะนำเป็นต่อปี) เพื่อทำให้เรารู้ว่าเงินก้อนแรกที่เรามีเพียงพอไหม ถ้าไม่พอเราก็ต้องเก็บเพิ่ม ง่ายๆแค่นั้นเอง
ตัวอย่างการคำนวนรายจ่ายต่อปี
ขั้นตอนสุดท้าย คือการวางแผนการเก็บออม โดยเครื่องมือที่แนะนำให้ใช้คือ บัญชีออมทรัพย์เงินคู่ และบัญชีซื้อขายกองทุนรวมที่มีกองทุนให้เลือกหลากหลาย
ซึ่งอยากให้แบ่งเงินเป็น 3ส่วน ตามระยะเวลาที่จะใช้เงิน
สั้น (ภายใน 3ปี) : เก็บในบัญชีออมทรัพย์ (บัญชีคู่) หรือ กองทุนตลาดเงิน
กลาง (3-7ปี) : เก็บในกองทุนตราสารหนี้ กองทุนผสม กองทุนอสังหาฯ หรือจะจัดพอร์ตกองทุนให้มีความเสี่ยงกลางๆก็ทำได้เช่นกัน
ยาว (7ปีขึ้นไป) : เก็บในกองทุนหุ้น กองทุนอสังหาฯ หรือจะจัดพอร์ตกองทุนให้มีความเสี่ยงสูงขึ้นมาหน่อย เพื่อเพิ่มโอกาสผลตอบแทนที่สูงขึ้น
ถ้าสามีใครดูแลค่าใช้จ่ายทั้งหมดให้ จะน่ารักมากมากกก แต่บนความน่ารักก็มีเรื่องน่าคิดอยู่เหมือนกันว่า... ถ้าวันนี้คุณสามีเราอยากไปเที่ยวสวรรค์ก่อนเราหละ จะทำยังไง?
และสุดท้ายอย่าลืมอุดรอยรั่วด้วย เครื่องมือที่แนะนำก็คงไม่พ้น ประกัน ค่ะ
Comments